เจ้าสิงโตไปเยือนก็คือจังหวัดปทุมธานีนี่เอง ไปดูกันดีกว่าว่าการออกเดินทางตามหา Iconic of Pathumthani ของเจ้าสิงโตจะมีที่ไหนบ้างน๊าาา
#Django150
#PeugeotDJANGO
#PeugeotMotocycles
#PeugeotMotocyclesThailand
#PeugeotDJANGOshareshoes

เป็นวัดที่มีเจดีย์ก่อสร้างด้วยฟอสซิลเปลือกหอยแปดล้านปีแห่งเดียวในเมืองไทย ภายในวัดมีการตกแต่งด้วยศิลปะแบบมอญ บรรยากาศรอบๆวัดจะตกแต่งด้วยเปลือกหอย และวิวทุ่งนาที่ให้ความสงบและร่มเย็น ด้านในอุโบสถ์เราจะพบพระประธานองค์ใหญ่สีทองอร่าม อย่าง พระพุทธนฤมิตรัตนชนะมาร หรือ หลวงพ่อชนะมาร โดยความเชื่อที่ว่าหากใครได้มากราบไหว้ขอพรจะได้รับความสำเร็จดั่งใจหวัง เกี่ยวกับโชคลาภ การทหาร ตำรวจ จึงทำให้ผู้ที่อยู่ในเครื่องแบบแวะเวียนไปกราบไหว้อย่างไม่ขาดสาย

ไม่ปรากฏหลักฐานว่าก่อสร้างขึ้นเมื่อไร แต่จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก พื้นล่างยกสูงราว 1 เมตร ก่อผนังปิดใต้ถุนโดยรอบ ด้านหน้ามีมุขกลางซ้อนกัน 2 ชั้น มีปีกยื่นออกมาทั้ง 2 ข้าง ด้านหลังมุขเป็นตัวอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าของมุขและอาคารมีลูกกรงปูนปั้นเป็นแบบลูกมะหวดประดับขอบหน้าบันของมุขทำเป็นรูปโค้งประดับขอบด้วยลวดลายปูนปั้นแบบยุโรป ตรงกลางหน้าบันมีครุฑเป็นสัญลักษณ์ หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ ตรงปีกหน้ามุขและระเบียงอาคารทั้ง 2 ข้าง ระดับช่องลมประดับด้วยไม้ฉลุลาย ช่องลมช่องระบายอากาศเหนือประตูหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลายเช่นกัน ประตูหน้าต่างเป็นบานไม้เปิดคู่ มีความงดงามที่สะดุดตาผู้คนที่ผ่านไปมาและแวะเวียนมาเยี่ยมชม โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และได้ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมไปอีกยาวนาน และได้เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-16.30 น.


ตามความเชื่อในวัฒนธรรมของชาวไทยที่ฝังรากลึกมาแต่โบราณกาลนั้น ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี ความสะอาด บริสุทธิ์ มีคุณค่า เจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ โชคดี สามัคคี ปลอดภัย และเป็นสิ่งอันเป็นมงคล เพราะดอกบัวมีรูปลักษณ์งดงาม มีกลิ่นหอม สะอาดผุดผ่องกลางน้ำใส แม้จะแทงยอดขึ้นจากโคลนตม เติบโตชูก้านดอกเหนือผิวน้ำ แต่ดอกบัวก็ไม่เปื้อนดิน ไม่เปียกน้ำ หรือไม่แปดเปื้อนมลทินใดๆ เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระมหากษัตริย์ที่มีต่อพสกนิกรชาวจังหวัดปทุมธานี
โดยปรากฏตามเอกสารทางประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า นาม “เมืองประทุมธานี” มีที่มาจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ พระราชทานเมื่อคราวเสด็จฯ และได้รับบัวจากชาวมอญ ในเทศกาลประเพณีรับบัวที่สามโคก ซึ่งจัดขึ้นในเดือน 11 จ.ศ. 1177 อันเป็นช่วงเวลาที่บัวออกดอกเป็นจำนวนมากจึงได้พระราชทานนามให้สมกับเป็นแหล่งบัวชุกชุม สำหรับ ประติมากรรมดอกบัวปทุมธานี 100 ปีถือว่าเป็นประติมากรรมชิ้นแรกของประเทศไทย ที่มีศิลปินแห่งชาติ รวม13 ท่าน ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน

ประชาชนทั่วไปนิยมเรียก “วัดคลองห้า” ตามนามท้องถิ่นที่ตั้งวัด สร้างเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2439 ร.ศ.115 โดยพระปฏิบัติราชประสงค์ (ชื่อเดิมคือนายมูลเลอร์ ชาวออสเตรเลีย) มีภรรยาชื่อจีน ทำงานอยู่ที่บริษัทบีกริม เป็นผู้ควบคุมการบริหารงานของบริษัท ขุดคลองแลคูนาสยาม ร่วมกับ ม.ร.ว.สุวพันธ์ สนิทวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขุดคลองรังสิตประยูรศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5
พระปฏิบัติราชประสงค์ได้สร้างวัดมูลจินดารามขึ้นด้วยเห็นว่า ชุมชนที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้ยังไม่มีวัดสำหรับเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติธรรม โดยวัดมูลจินดารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2442 มีพระอธิการปลั่ง อุตฺตโม เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่ 6) และพระบรมวงศานุวงศ์ ในพิธีทรงเปิดเมืองธัญญบูรี เมื่อเสด็จกลับจากทรงประกอบพิธีดังกล่าวแล้ว ในตอนบ่ายได้ทรงเสด็จมายังวัดมูลจินดาราม จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินประทับในพระอุโบสถของวัด มีพระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรม ทำสังฆกรรมผูกพัทธสีมา และเสด็จพระราชดำเนินตัดลูกนิมิตด้วยพระองค์เอง และได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดมูลจินดาราม” เพื่อให้สอดคล้องกับผู้สร้างวัด คือนายมูลเลอร์(พระปฏิบัติราชประสงค์) และนางจีน ผู้เป็นภรรยา








