วันนี้เจ้าสิงโตจะพาไปเที่ยวอีกจังหวัดนึงในภาคอีสาน เป็นเมืองที่มีสถานที่ที่สวยงามมากมาย ตามเจ้าสิงโตไปดูกันดีกว่าว่าเมืองดอกบัวงามกับธรรมชาติริมโขงจะสวยขนาดไหน
#Django150
#PeugeotDJANGO
#PeugeotMotocycles
#PeugeotMotocyclesThailand
#PeugeotDJANGOshareshoes



ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ “สามพันโบก” ซึ่งเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ ถูกกัดเซาะกลายเป็นแอ่งและหลุดมากมาย โดยผลงานของแม่น้ำโขงที่กัดเซาะแก่งหินนี้ ในช่วงฤดูน้ำหลากทุกๆปี ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดเป็นแอ่งมากมายมากกว่า 3,000 โบก และฝั่งตรงข้างที่ห่างไปไม่กี่เมตรก็เป็นฝั่งของประเทศเพื่อนบ้านของไทยเรานั้นคือประเทศลาว นอกจากจะมาเที่ยว สามพันโบกได้เห็นความงามของธรรมชาติแล้ว ยังได้เห็นวิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งโขง ในช่วงหน้าแล้ง สามพันโบก จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นเนินแก่งหินขนาดใหญ่กลางลำน้ำโขง ความสวยงามตระการตาของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น รูปดาว วงรี มิกกี้เม้า และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพูเดิล มีความสวยงาม แกรนด์แคนยอน ลักษณะแกรนด์แคนยอนในรูปแบบของสามพันโบก มีลักษณะเป็นหน้าผา 2 ฝั่ง ถ้ามองให้ลึกเข้าไปอีกจะเห็นความละเอียดของการกัดเซาะจากลำน้ำโขงจะมีลักษณะเป็นรูป ใหญ่เล็กตามโขดหินริมหน้าผา ซึ่งจะทำให้ผู้พบเห็นเกิดความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้รังสรรค์ออกมาเป็นของขวัญให้กับมนุษย์ “ตำนานปู่จกปู” หลุมโบกที่เกิดขึ้นมากมาย ก่อเกิดเรื่องเล่า ปู่พาหลานมาจับปาบริเวณถ้างต้อน (ต้อนเป็นเครื่องมือดักปลาของคนอีสาน) บังเอิญไม่สามารถจับปลาได้จึงใช้มือล้วงปูหินริมน้ำโขงจนเกิดโบกจำนวนมาก ซึ่งโบกในภาษาไทย แปลว่า หลุม นั้นจึงแปลว่า สามพันหลุม

เป็นวัดราษฎร์ นิกายธรรมยุต ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 3 ถนนธรรมวิถี แยกจากถนนชยางกูรไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 50 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ของจังหวัดอุบลราชธานี ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษของพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2500 พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์นั้น ได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รอบองค์พระธาตุเป็นกำแพงแก้ว ซึ่งทั้ง 4 มุม ของกำแพงแก้ว ได้ประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็กอีก 4 องค์ ภายในองค์พระธาตุมีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน พระธาตุองค์เดิมมีขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร สูงประมาณ 17 เมตร เมื่อสร้างใหม่ครอบองค์เดิม คือพระบรมธาตุที่เห็นในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่มาก ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร สูง 56 เมตร เสร็จสมบูรณ์ในปี 2512 ด้านหลังของพระบรมธาตุ เป็นที่ตั้งของศาลาการเปรียญ ซึ่งใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณี กลุ่มของฆราวาสจะรวมกันอยู่ด้านหลัง ซึ่งเป็นกุฏิที่สร้างอยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งเป็นป่าโปร่ง ส่วนกุฏิของแม่ชี จะแยกพื้นที่ไปอยู่นอกวัด


เป็นเสาเฉลียงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงประมาณ 20 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นเนินหินโล่งกว้าง แวดส้อมด้วยป่าเบญจพรรณที่มีพืขพรรณแปลกตาหายากหลาย ขนิด นอกจากนี้บริเวณฐานของเสาเฉลียงยักษ์ทางด้านทิศตะวันตกยังมีร่องรอยทางโบราณคดี ได้แก่โลงศพไม้ เก่าแก่ยาวประมาณ 2 เมตร ซึ่งเขื่อว่าเป็นของมนุษย6โบราณ
ธรณีวิทยา : เป็นประติมากรรมธรรมขาติดล้ายเห็ดเกิดจากกระบวนการผุพังอยู่กับที่และ กร่อนที่เกิดกับขั้นหินที่แข็งและอ่อนของหมวดหินภูพาน อายุประมาณ 110 ล้านปี ทำให้ขั้นหินมีความคงทน ต่อกระบวนการดังกล่าวแตกต่างกันจึงถูกกัดกร่อนไม่เท่ากัน ส่วนที่เป็นขั้นหินที่อ่อนกว่าจะถูกกัดกร่อน มากกว่าจึงหลงเหลือเป็นส่วนคล้ายโคนเห็ด ในขณะที่ขั้นหินที่แข็งกว่าถูกกัดกร่อนน้อยกว่าจึงหลงเหลือเป็น ส่วนคล้ายดอกเห็ด

ตามที่มีการบันทึกไว้ เป็นสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ภายในวัดโดดเด่นด้วยเจดีย์อริยเมตตรัย รูปทรงสูงใหญ่สวยแปลกตากว่าที่อื่น ๆ และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีขาว 56 องค์ ที่วางเรียงอย่างสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสร้างขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านบุ่งขี้เหล็กและผู้เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร วัดบุ่งขี้เหล็ก ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของหมู่บ้านบุ่งขี้เหล็ก ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เดิม ชื่อวันสังวรวนาราม ภายหลังหลวงปู่จันทร์หอมได้มาสร้างและบูรณะใหม่ และให้ชื่อว่า วัดบุ่งขี้เหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในภูหินทราย เรียกภูผาขาม เป็นจุดชมทัศนียภาพริมฝั่งแม่น้ำโขง
ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นที่ทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าดังกล่าว เนื่องจากมีความเชื่อว่า “ผาแต้ม” เป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านี้มีความศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไป มักมีอันเป็นไป อาจเจ็บไข้หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หลังจากนั้นไม่นาน ผาแต้ม ก็มีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปี ได้มาทำการสำรวจและค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม และได้เสนอต่อกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย และถือได้ว่าเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกในประเทศไทยที่มีแม่น้ำโขง ซึ่งเราสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของชายแดนประเทศลาวได้เป็นอย่างดี









